เมนู

ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน. บทว่า สีลสํวุตา ความว่า สังวร
คือปิดกั้นไว้ด้วยศีล. บทว่า เต เว กาเลน ปจฺจนฺติ ความว่า ภิกษุ-
เหล่านั้นแล ย่อมรู้ (เหตุที่ดับทุกข์) ตามกาลที่เหมาะสม. บทว่า ยตฺถ
ทุกฺขํ นิรุชฺฌติ
มีอธิบายว่า ภิกษุเหล่านั้น ย่อมรู้ฐานะเป็นที่ดับวัฏทุกข์
ทั้งสิ้น คืออมตมหานิพพาน. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอนุตริยะ
6 คละกันไปฉะนี้แล.
จบอนุตตริยสูตรที่ 10
จบอนุตตริยวรรควรรณนาที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สามกสูตร 2. อปริหานิยสูตร 3. ภยสูตร 4. หิมวันตสูตร
5. อนุสสติฐานสูตร 6. กัจจานสูตร 7. ปฐมสมยสูตร 8. ทุติยสมยสูตร
9. อุทายีสูตร 10. อนุตตริยสูตร และอรรถกถา.

เสขปริหานิยวรรคที่ 4


1. เสกขสูตร


ว่าด้วยธรรมเสื่อมและไม่เสื่อมของพระเสขะ 6


[302] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็น
ผู้ชอบการงาน 1 ความเป็นผู้ชอบคุย 1 ความเป็นผู้ชอบหลับ 1 ความเป็น
ผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ 1 ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย 1
ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม 6 ประการ
นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม
แก่ภิกษุผู้เสขะธรรม 6 ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน 1
ความเป็นผู้ไม่ชอบคุย 1 ความเป็นผู้ไม่ชอบความหลับ 1 ความเป็นผู้ไม่ชอบ
การคลุกคลีด้วยหมู่คณะ 1 ความเป็นผู้คุ้มครองทวารอินทรีย์ทั้งหลาย 1 ความ
เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.
จบเสกขสูตรที่ 1